7MTH.COM
อยู่ที่: หน้าแรก >

เก็บตกรอบแรก เวิลด์ คัพ 2014

28/06/2014 ขอบคุณ siamsport

เก็บตกรอบแรก เวิลด์ คัพ 2014

จบลงไปแล้วสำหรับฟุตบอลโลก รอบแบ่งกลุ่ม ที่เผดียงแข้งกันครบถ้วน 48 แมตช์ พร้อมบทสรุป 16 ทีมสุดท้ายได้สิทธิ์ "ไปต่อ" ในเวิลด์ คัพ ฉบับแซมบ้า
 
 ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่า นับตั้งแต่เป่านกหวีดให้สัญญาณปล่อยตัววันแรกเมื่อ 12 มิถุนายนกระทั่งจบรอบแรก 2 สัปดาห์เต็มๆ ประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกหลายอย่างถูกเขียนขึ้นใหม่บนแผ่นดินบราซิล
 
 สิ่งละอันพันละน้อย เรียงร้อยเป็นบทสรุป รอบแรก ณ บรรทัดต่อไปนี้

 ..................................................................

 โคลเซ่...สังหารสนั่น
 
 มิ โรสลาฟ โคลเซ่ ย่ำสู่เมืองกาแฟ ในฐานะกองหน้าตัวเป้าคนเดียวของทัพเยอรมัน ดาวยิงวัย 36 ปีไม่สมบูรณ์เท่าไหร่และเป็นเพียงไพ่สำรอง ภายใต้หมากของ โยอัคเคิม เลิฟ ที่ใช้การขับเคลื่อนของตัวรุกรุ่นน้องอย่าง เมซุต โอซิล, โธมัส มุลเลอร์ และ มาริโอ เกิทเซ่อ เป็นแกน
 
 ทว่า พลันได้รับโอกาส สัญชาติญาณนักล่าทำงาน โคลเซ่ถูกส่งลงสนามในเกมกับกาน่า ก่อนแผลงฤทธิ์ดีดประตูตีเสมอทัพ "ดาวดำ" 2-2 นอกจากเสมอในเกมแล้ว ประตูนี้ยังทำให้เขาทาบสถิติตะบันในบอลโลกสูงสุดเท่า "โล้นทองคำ" โรนัลโด้ ตำนานดาวยิงชาวบราซิล ด้วยจำนวน 15 ประตูทันที ...สงครามยังไม่จบ เยอรมันยังอยู่ในเส้นทาง และโคลเซ่ยังมีสิทธิ์เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่เพียงลำพัง
 
 2002 : 5 (ซาอุดิอาระเบีย 3, ไอร์แลนด์, แคเมอรูน)
 
 2006 : 5 ดาวซัลโวสูงสุด (คอสตาริกา 2, เอกวาดอร์ 2, อาร์เจนตินา)
 
 2010 : 4 (ออสเตรเลีย, อังกฤษ, อาร์เจนตินา 2)
 
 2014 : 1 (กานา)

 ..................................................................

 แฮตทริกจากบาวาเรีย

 
 บอลโลกหนนี้มีแฮตทริกเกิดขึ้นแล้ว 2 ครั้งและทั้งหมดมาจากนักเตะของถิ่นบาวาเรียนอย่าง บาเยิร์น มิวนิค
 
 โธมัส มุลเลอร์ เปิดงานด้วย 3 ประตูในแมตช์เยอรมันต้อนโปรตุเกส 4-0 และ เซอร์ดาน ชากิรี่ กดแฮตทริกพาสวิสรัวกระสุนฮอนดูรัส 3-0 พร้อมตีตั๋วเข้ารอบน็อกเอาต์
 
 ไม่แปลกแต่จริง จบรอบแรก ผู้เล่นจาก "เสือใต้" ทำประตูได้มากที่สุดในทัวร์นาเมนต์นี้ นับรวมแล้ว 13 ประตู ไล่เรียงตั้งแต่ โธมัส มุลเลอร์ (เยอรมัน 4), อาร์เยน ร็อบเบน (ฮอลแลนด์ 3), เซอร์ดาน ชากิรี่ (สวิส 3), มาริโอ มานด์ซูคิช (โครเอเชีย 2) และ มาริโอ เกิทเซ่อ (เยอรมัน 1)

 ทำเนียบนักเตะทำแฮตทริกในฟุตบอลโลก

ชื่อ 

ทีม

คู่แข่ง

วันเกิดเหตุ

เบิร์ต พาเทเนาเด้ 

สหรัฐฯ

ปารากวัย

17/07/30

กีเยร์โม่ สตาบิเล่

อาร์เจนตินา

เม็กซิโก

19/07/30

เปโดร เซีย

อุรุกวัย

ยูโกสลาเวีย

27/07/30

เอ็ดมุนด์ โคเนน

เยอรมัน

เบลเยียม 

27/05/34

อันเจโล สเคียวิโอ

อิตาลี

สหรัฐฯ

27/05/34

โอลดริช เนเย็ดลี่

เชโกสโลวาเกีย

เยอรมัน

03/06/34

แอร์นส์ท วิลลิมอฟสกี้

โปแลนด์

บราซิล 

05/06/38

เลโอนิดาส ดา ซิลวา

บราซิล

โปแลนด์

05/06/38

กุสตาฟ เว็ทเทอร์สตรอม

สวีเดน 

คิวบา

12/06/38

กียูล่า เซนเกลเลอร์

ฮังการี

สวีเดน

16/06/38

ออสการ์ มิเกซ 

อุรุกวัย

โบลิเวีย

02/07/50

อเดเมียร์ มาร์เกส

บราซิล

สวีเดน 

09/07/50

ซานดอร์ ค็อคซิส

ฮังการี

เกาหลีใต้

17/06/54

เอริค พร็อบส์ท

ออสเตรีย

เชโกสโลวาเกีย

19/06/54

การ์ลอส บอร์เคส

อุรุกวัย

สกอตแลนด์

19/06/54

ซานดอร์ ค็อคซิส 

ฮังการี 

เยอรมัน

20/06/54

ซาร์กิน บูร์ฮาน

ตุรกี

เกาหลีใต้

20/06/54

มักซ์ มอร์ล็อค

เยอรมัน

ตุรกี

23/06/54

โยเซฟ ฮูกี้

สวิตเซอร์แลนด์

ออสเตรีย

26/06/54

ธีโอดอร์ ว้ากเนอร์

ออสเตรีย

สวิตเซอร์แลนด์

26/06/54

ฌุสต์ ฟงแตน

ฝรั่งเศส

อุรุกวัย

08/06/58

เปเล่

บราซิล

ฝรั่งเศส

24/06/58

ฌุสต์ ฟงแตน

ฝรั่งเศส

เยอรมัน

28/06/58

โฟลเรียน อัลเบิร์ต

ฮังการี

บัลแกเรีย

03/06/62

ยูเซบิโอ

โปรตุเกส

เกาหลีเหนือ

23/07/66

เจฟฟ์ เฮิร์สท์

อังกฤษ

เยอรมัน

30/07/66

แกร์ด มุลเลอร์

เยอรมัน

บัลแกเรีย

07/06/70

แกร์ด มุลเลอร์

เยอรมัน

เปรู

10/06/70

ดูซาน บาเยวิช

ยูโกสลาเวีย

ซาอีร์

18/06/74

อังเดร ซาร์มัช

โปแลนด์

เฮติ

19/06/74

ร็อบ เรนเซนบริงค์

ฮอลแลนด์

อิหร่าน

03/06/78

เตโอฟิโล่ กูบียาส

เปรู

อิหร่าน

11/06/78

ลาสโล่ คิสส์

ฮังการี

เอล ซัลวาดอร์

15/06/82

คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้

เยอรมัน

ชิลี 

20/06/82

ซบิ๊กนิว โบเนี้ยค

โปแลนด์

เบลเยียม

28/06/82

เปาโล รอสซี่

อิตาลี

บราซิล

05/07/82

พรีเบน เอลชาร์-ลาร์เซ่น 

เดนมาร์ก

อุรุกวัย

08/06/86

แกรี่ ลินิเกอร์

อังกฤษ

โปแลนด์

11/06/86

อิกอร์ เบลานอฟ

สหภาพโซเวียต

เบลเยียม

15/06/86

เอมิลิโอ บูตราเกนโญ่

สเปน

เดนมาร์ก

18/06/86

มิเชล

สเปน

เกาหลีใต้

17/06/90

โทมัส สคูห์ราวี่

เชโกสโลวาเกีย

คอสตาริกา

23/06/90

กาเบรียล บาติสตูต้า

อาร์เจนตินา

กรีซ

21/06/94

โอเล็ก ซาเลนโก้

รัสเซีย

อาร์เจนตินา

28/06/94

กาเบรียล บาติสตูต้า

อาร์เจนตินา

จาเมกา

21/06/98

มิโรสลาฟ โคลเซ่

เยอรมัน

ซาอุดีอาระเบีย

01/06/02

เปาเลต้า

โปรตุเกส

โปแลนด์

10/06/02

กอนซาโล่ อิกวาอิน

อาร์เจนตินา

เกาหลีใต้ 

17/06/10

โธมัส มุลเลอร์

เยอรมัน 

โปรตุเกส

16/06/14

เซอร์ดาน ชากิรี่ 

สวิตเซอร์แลนด์

ฮอนดูรัส

25/06/14


 ..................................................................

 เครื่องฟิตสตาร์ตติดง่าย

 
 สหรัฐฯ สร้างความตะลึงให้แฟนบอล จากเกมออกสตาร์ตนัดแรกกับกาน่า เพียง 30 วินาที คลินท์ เดมพ์ซี่ย์ ส่งบอลไปกองก้นตาข่าย และแน่นอนมันเป็นประตูที่เร็วที่สุดในบอลโลกหนนี้!
 
  ทั้งนี้ ประตูของเดมพ์ซี่ย์ยังติดท็อปไฟฟ์ "สังหารเร็วปานจรวด" ในเวิลด์ คัพอีกด้วย
 
  5 อันดับประตูเร็วที่สุดตลอดกาลฟุตบอลโลก
 
  1. ฮาคาน ซูเคอร์ (ตุรกี) 11 วินาที (เกาหลีใต้ รอบชิงที่ 3 ปี 2002)
 
   2. วาคลาฟ มาเซ็ค (เช็กโกสโลวาเกีย) 16 วินาที (เม็กซิโก รอบแรก ปี 1962)
 
 3. แอร์นส์ท เลห์เนอร์ (เยอรมัน) 25 วินาที (ออสเตรีย นัดชิงที่ 3 ปี 1934)
 
 4. ไบรอัน ร็อบสัน (อังกฤษ) 27 วินาที (ฝรั่งเศส รอบแรก ปี 1982)
 
 5. คลินท์ เดมพ์ซี่ย์ (สหรัฐฯ) 30 วินาที (กานา รอบแรก ปี 2014)

 ..................................................................

 มาแล้วยังดีกว่ามาช้า

 
 มี ประตูเร็วที่สุดแล้ว ย่อมมีประตูช้าที่สุดควบคู่กัน ไอ้ประเภทที่ยิงในนาทีสุดท้ายน่ะถือว่าจิ๊บจ๊อย ในที่นี้ ขอนับเฉพาะประตูที่เกิดขึ้นหลังครบ 90 นาทีไปแล้ว อันหมายถึงช่วงเวลาทดเจ็บ นับเฉพาะแค่ในฟุตบอลโลกหนนี้ มีหลายลูกเหลือเกิน และประตูที่มาช้าที่สุด หนีไม่พ้น ลูกโขกของ ซิลเวสเตร วาเลร่า ดาวเตะโปรตุกีสในเกมตีเสมอสหรัฐฯ 2-2 รอดพ้นความอับอายแบบหวุดหวิด
 
 ไล่เรียงกันแบบนาทีต่อนาที

 นาทีที่ 1 ออสการ์ (บราซิล) ยิงเม็กซิโก

 นาทีที่ 1 ลิโอเนล เมสซี่ (อาร์เจนตินา) ยิงอิหร่าน

  นาทีที่ 2 ฌอน โบเซอชูร์ (ชิลี) ยิงออสเตรเลีย

  นาทีที่ 2 เมมฟิส เดปาย (ฮอลแลนด์) ยิงชิลี

 นาทีที่ 3 ฮาเมส โรดริเกซ (โคลอมเบีย) ยิงกรีซ

 นาทีที่ 3 จอร์จอส ซามราส (กรีซ) ยิงไอวอรี่โคสต์

 นาทีที่ 3 ฮาริส เซเฟโรวิช (สวิส) ยิงเอกวาดอร์

 นาทที่ 5 ซิลเวสเตร วาเลร่า (โปรตุเกส) ยิงสหรัฐฯ

 ..................................................................
 
 โกล-ไลน์
  เทคโนโลยี "โกล-ไลน์" ถูกนำมาใช้ตัดสินจังหวะการทำประตูที่ก้ำกึ่งเป็นครั้งแรกในเกมที่ ฝรั่งเศส ชนะ ฮอนดูรัส 3-0 จากประตูที่สองของทัพตราไก่ 
 
 ในจังหวะดังกล่าว คาริม เบนเซม่า หลุดเข้ามาทางซ้ายเขตโทษ ก่อนสับไกไปชนเสาแล้วกลิ้งอยู่บนเส้น ก่อนพุ่งมาหา โนเอล วายาดาเรส นายทวารฮอนดูรัส ซึ่งลูกบอลมันก็เด้งโดนมือของวายาดาเรสข้ามเส้นเข้าไปพอดี แม้นายทวารวัย 37 ปี พยายามควักลูกบอลออกมา แต่ โกลคอนโทรล ระบบที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) นำมาใช้ในครั้งนี้ แจ้งเตือนให้ ซานโดร ริชชี่ ผู้ตัดสินชาวบราซิเลียนรู้ว่าบอลมันข้ามเส้นเข้าไปทั้งใบแล้ว ส่งผลให้เป็นประตูของ "ตราไก่" ไป โดยที่นับเป็นการทำเข้าประตูตัวเองของวายาดาเรส

 ..................................................................


 เก่าเรียกพี่ มอนดรากอน
 
 ท้าย เกม โคลอมเบีย - ญี่ปุ่น ขณะสกอร์ห่าง 3-1 และเหลือเวลาอีกแค่ 6 นาที โฮเซ่ เปเกร์มัน กุนซืออาร์เจนไตน์ตัดสินใจเปลี่ยน ฟารีด มอนดรากอน นายทวารจอมเก๋า ลงมาแทน ดาวิด ออสปิน่า มือหนึ่งของทีม
 
 เปล่าเลย จอมหนึบโคลอมเบียมิได้เจ็บหรือมีปัญหาใด แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นเพื่อสร้างประวัติศาสตร์บอลโลก มอนดรากอนกลายเป็นผู้เล่นอายุมากที่สุดที่ลงเล่นในฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ด้วยวัย 43 ปี 4 วัน ทำลายสถิติเดิมของ โรเจอร์ มิลล่า ที่ทำไว้ในปี 1994 จากแมตช์กับรัสเซีย (42 ปี 39 วัน)

 ..................................................................

 ปรากฎการณ์ปลาหมึกจังโก้

 
 กิเยร์โม่ โอชัว แจ้งเกิดในชั่วข้ามคืน หลังโชว์เซฟพัลวันช่วยให้ทัพ "จังโก้" ยันเสมอ บราซิล 0-0 ในเกมนัดที่สอง ของกลุ่ม เอ
 
 ผล งานเซฟเนื้อๆ 6 ครั้งถือเป็นฟอร์มมาสเตอร์พีชของนายทวารฟรีเอเยนต์ หลังหมดสัญญากับต้นสังกัดที่เพิ่งตกชั้นอย่างอฌักซิโอ้ ในฝรั่งเศส
 
 ลูก ขวิดของเนย์มาร์ ที่โอชัวลอยตัวปัดบนเส้นอย่างเหลือเชื่อ ถูกนำไปเปรียบเทียบกับลูกเซฟของ กอร์ดอน แบงค์ส ตำนานมือกาวชาวอังกฤษ ที่บินปัดลูกโหม่งของ เปเล่ ในเกมที่อังกฤษพ่ายบราซิล 0-1 เมื่อปี 1970 จากนั้น มือกาวของโอชัวยังทำงานต่อเนื่องจนครบ 90 นาที และกลายเป็น ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ในวันรุ่งขึ้น

 ..................................................................

 "ปีศาจแดง" แรงปลาย
 
 ขึ้น ชื่อ "ปีศาจแดงแห่งยุโรป" เป็นใครไปไม่ได้นอกจาก เบลเยียม ยอดทีมม้ามืดแห่งปี ฟอร์มใน 3 นัดแรกยังแกร่งสมคำร่ำลือ ลูกทีมของ มาร์ก วิลม็อตส์ ชนะรวดเหนือคู่แข่งและเก็บ 9 แต้มเต็ม ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ 4 ประตูที่ทีมทำได้เกิดขึ้นในช่วง 20 นาทีสุดท้ายทั้งหมด
 
 ตั้งแต่ 2 ประตูในเกมกับแอลจีเรีย (เฟลไลนี่ นาที 70, เมอร์เตนส์ นาที 80) เฉือนรัสเซีย (โอริชี่ นาที 90) และบดโสมขาว (แฟร์ต็องเก้น นาที 77) ซึ่งเมื่อนับรวมของเก่าแล้ว นี่เป็นประตูที่ 6 ติดต่อกันที่เบลเยียมทำได้ในช่วง 20 นาทีสุดท้ายของเกม

 ..................................................................

  มีเมสซี่...ไม่มีโฮ
 
 อาร์เจนตินา ยังอยู่ยงคงกระพัน เมื่อมี ลิโอเนล เมสซี่ เป็นยันตร์กันภัย และหลังจบที่ทัพ "ฟ้าขาว" เฉือน ไนจีเรีย 3-2 เกมสุดท้าย รอบแรก สาวก "อัลบิเซเลสเต้" พบความจริงบางประการว่า ฟ้าขาวไม่เคยแพ้ในเกมที่มีเมสซี่ลงสนาม 24 เกมติดต่อกันแล้ว (นับตั้งแต่ตุลาคม 2011)


 ..................................................................

 แถวนี้ใครใหญ่!

 
 บน ดินแดนแห่งลุ่มน้ำอะเมซอน ทีมจากถิ่นอเมริกาใต้ย่อมถือครองได้เปรียบจากสภาพการณ์อันคุ้นเคย 6 ทีมละตินเรียงคิวเข้ารอบกันอย่างเอิกเกริก บราซิล, ชิลี, โคลอมเบีย, อุรุกวัย และ อาร์เจนตินา มีเพียง เอกวาดอร์ที่ไม่มาตามนัด และกลายเป็น "แกะดำ" ลำพัง
 
 ไม่ต่างกับทีมจากโซนใกล้เคียงอย่าง คอนคาเคฟ ที่ลิ่วสู่รอบน็อกเอาต์ถึง 3 จาก 4 ทีม สหรัฐฯ, เม็กซิโก และที่ต้องกาหมึกแดงตัวโต "กล้วยหอม" คอสตาริกา ส่วน ฮอนดูรัส ละไว้ในฐานที่เข้าใจ
 
 10 ทีมจากสองโซน ผ่านเข้ารอบถึง 8 (ครึ่งหนึ่งของทีมที่เหลือ) ทีนี้รู้หรือยังว่า แถวนี้ใครใหญ่

 ..................................................................

 แชมป์เก่า เศร้าสนิท

 
 ท่าม กลางเสียงยกยอเต็มกระบุงโกย "กระทิงดุ" ยุคชราภาพย่ำสู่บราซิล ด้วยความหวังเรืองรอง ในการเป็นทีมยุโรปทีมแรกที่คว้าแชมป์โลกในถิ่นอเมริกาใต้ พวกเขามีศักยภาพเช่นนั้น 
 
 ทว่า การณ์กลับตาลปัตร ลูกทีมของ บิเซนเต้ เดล บอสเก้ พ้นจุดพีกไปเนิ่นนาน แผลสดจากความพ่ายแพ้ต่อ "กังหันยังเติร์ก" แบบหมดสภาพ 1-5 ถูกซ้ำด้วยทิงเจอร์ยี่ห้อชิลี ชัยชนะทิ้งทวนเหนือออสเตรเลีย ไม่มีอะไรในกอไผ่
 
 ซ้ำร้าย มันยังกลายเป็นการอำลาทีมชาติที่แสนเศร้าของ ดาบิด บีย่า กองหน้าตัวเก๋าที่โดนกุนซือหนวดเปลี่ยนตัวออก ชนิดที่เจ้าตัวหยดน้ำหล่นเป็นสาย บ่งบอกความผิดหวัง
 
 เรื่องในมุ้งยังต่อไป อนาคต "ลา โรฆ่า" ยังคงเป็นปริศนา
 
 การ ตกรอบของสเปนหนนี้ นับเป็นการร่วงรอบแรกของทีม "แชมป์เก่า" ฟุตบอลโลกถึง 3 จาก 4 ทัวร์นาเมนต์หลัง นับตั้งแต่ปี 2002 (ฝรั่งเศส) และ 2010 (อิตาลี) มีเพียง บราซิล (2006) ที่เป็นข้อยกเว้น

 ..................................................................

  8 วัน "สิงโต" สำลักกาแฟ

 ขวัญ ใจมหาชนแลนดิ้งสู่แดนแซมบ้า ด้วยผู้เล่นดาวรุ่งหลายราย อนาคตสดใสรออยู่ และการเริ่มต้นด้วยความพ่ายแพ้ต่ออิตาลี 1-2 ได้รับคำชมไม่น้อย จากฟอร์มการเล่นที่เห็นในสนาม
 
 ทว่า หลังโดนพิษแข้ง หลุยส์ ซัวเรซ ทำให้ทีมของ รอย ฮ็อดจ์สัน เข้าตาจน และความพ่ายแพ้ของอิตาลีต่อคอสตาริกาในอีก 1 วันให้หลัง ส่งให้อังกฤษตกรอบแรกฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1958 หรือเมื่อ 54 ปีที่แล้ว!
 
 เตรียมตัวมาเนิ่นนาน วางแผนอย่างดิบดี แต่สุดท้าย "สิงโต (ไม่) คำราม" ตัวนี้ร่วงตกรอบหลังทัวร์นาเมนต์เปิดฉากแค่ 8 ค่ำคืน

 ..................................................................

 กียาน ที่สุดแอฟริกา

 กี ยาน อซาโมอาห์ ศูนย์หน้ากาน่า กลายเป็นผู้เล่นแอฟริกาที่ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย หลังทำลายสถิติเดิมของ โรเจอร์ มิลล่า แข้งแคเมอรูนชื่อดัง ที่ทำไว้ 5 ประตู จากลูกโขก ในเกมพ่ายโปรตุเกส 1-2 ในนัดสุดท้าย อย่างไรก็ตาม "ดาวดำ" ไม่รอดสันดร และตกรอบอย่างรวดเร็ว

 2006 : 1 (สาธารณรัฐเช็ก)
 2010 : 3 (เซอร์เบีย, ออสเตรเลีย, สหรัฐฯ) 
 2014 : 2 (เยอรมัน, โปรตุเกส)
 
 ปล. แต่หมอนี่เป็นเจ้าของสถิติยิงจุดโทษพลาดมากที่สุดในรอบสุดท้ายเหมือนเดิม (2 ประตู : 2006 สาธารณรัฐเช็ก, 2010 : อุรุกวัย - ไม่รวมการดวลจุดโทษหลังต่อเวลาพิเศษ)

 ..................................................................

 กาฬทวีป เข้าเป็นคู่

 ประตู ตีเสมอของ อิสลาม สลิมานี่ ล้ำค่าเหลือเกิน มันทำให้ แอลจีเรีย ผ่านเข้ารอบน็อกเอาต์สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก จากเกมสุดท้าย กลุ่ม เอช ที่ตามตีเสมอ รัสเซีย 1-1 ขณะที่ผลอีกคู่ เกาหลีใต้ พ่ายต่อ เบลเยียม ที่มีแค่ 10 คนในสนามด้วยสกอร์ 0-1
 
 ไม่ เพียงเท่านั้น แอลจีเรียยังต้องเจอโจทย์เก่าอย่าง เยอรมัน ทีมที่เคยเขี่ยพวกเขาร่วงตกรอบแรกในปี 1982 ด้วยการ "ซูเอี๋ย" กับออสเตรีย อันเป็นหนึ่งในเกมอื้อฉาวบนเวทีโลก
 
 การผ่านเข้ารอบของแอลจีเรียหน นี้ จึงกลายเป็นครั้งแรกที่ทีมจากโซนแอฟริกาผ่านเข้ารอบน็อกเอาต์พร้อมกันถึง 2 ทีม โดยนอกจากแอลจีเรียยังมีไนจีเรียอีกด้วย

 ..................................................................

 เฉาะเพื่อชาติ
 อื้อ ฉาวแบบไม่ทันตั้งตัวสำหรับกรณี "งับ" ของ หลุยส์ ซัวเรซ กองหน้าอุรุกวัยที่กระทำต่อ จอร์โจ้ คิเอลลินี่ ปราการหลังอิตาเลียน เรื่องราวเบื้องหน้าเบื้องหลังเป็นอย่างไร คงไม่ต้องเสียเวลาสาธยาย
 
 ผลลัพธ์ ต่างหากที่ทุกคนจับตา คำตัดสินแบน 9 นัดของฟีฟ่าในเกมระดับชาติ นับเป็นบทลงโทษมากที่สุด ทำลายสถิติเดิมที่ฟีฟ่าเคยสั่งลงโทษ เมาโร ทัสซ็อตติ กองหลังอิตาลี กรณีชักศอกใส่ หลุยส์ เอ็นริเก้ ของสเปนในเกมฟุตบอลโลก 1994 ซึ่งคราวนั้น ทัสซ็อตติรับโทษไปเต็มๆ 8 นัดถ้วน

 ..................................................................

  3 หนุ่ม 3 มุมนายด่านฝอยทอง
 
 โปรตุเกส กลายเป็นทีมแรกในรอบ 20 ปี ที่ใช้ผู้รักษาประตูถึง 3 คน ในฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ต่อจาก กรีซ เมื่อปี 1994 และถือเป็นทีมที่ 5 ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก ที่ทำอย่างนั้น
 
 ในเกมชนะ กานา 2-1 โปรตุเกส เปลี่ยนเอา เอดูอาร์โด้ ลงไปเฝ้าเสาแทน เบโต้ ที่มีอาการบาดเจ็บในนาทีที่ 89 ทำให้ขุนพลจากแดนฝอยทองใช้ผู้รักษาประตูครบสามคนในรายการนี้ โดยมือ 1 อย่าง รุย ปาตริซิโอ ได้ลงเฝ้าเสาในเกมแรกที่แพ้ เยอรมัน 0-4 ก่อนมีอาการบาดเจ็บรบกวน ทำให้พวกเขาใช้นายทวารครบสามคนเลยในรอบแบ่งกลุ่ม
ข่าวฮอต
  ไม่ฝืน! ฟีร์มิโนเจ็บถอนทัพแซมบ้าชุดคัดบอลโลก

ไม่ฝืน! ฟีร์มิโนเจ็บถอนทัพแซมบ้าชุดคัดบอลโลก

แนวรุกบราซิเลียนของหงส์แดง ตัดสินใ...
  • ตารางคะแนน
  • ดาวซัลโว
    • A
    • B
    • C
    • D
    • E
    • F
    • G
    • H
  • เรียงลำดับ นักฟุตบอล ทีม ประตูรวม(จุดโทษ)
เมือง&สนาม
ชิงอันดับฟุตบอลโลกที่ผ่านมา
  • ปี
  • ชนะเสิศ
  • รองชนะเสิศ
  • อันดับ 3